Knowledge Management(KM)
จำนวนการดูหน้าเว็บรวม
วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดการความรู้
เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดการความรู้ที่จะมานำเสนอในบทความนี้มี 2 เทคโนโลยีคือ
1.Collaborative software2.Communication technology
1.collaborative software คือซอฟต์เเวร์ที่มีลักษณะเพื่อการทำงานร่วมกัน
collaborative software คือซอฟต์เเวร์ที่มีลักษณะเพื่อการทำงานร่วมกัน
1.กลุ่มที่ใช้ประโยชน์ในการติดต่อสื่อสาร
2.กลุ่มที่ใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนรู้
1.ซอฟต์แวร์เพื่อสังคม collaborative software ซอฟต์แวร์เพื่อสังคม collaborative softwareคือ ซอฟต์เเวร์ที่มีลักษณะเพื่อการทำงานร่วมกัน
1.กลุ่มที่ใช้ประโยชน์ในการติดต่อสื่อสาร
2.กลุ่มที่ใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนรู้ ซอฟต์แวร์เพื่อสังคม (Social Software ) คือ ซอฟต์แวร์ที่ทำให้ผู้คนสามารถนัดพบปะเชื่อมสัมพันธ์หรือทำงานร่วมกันโดยมีคอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลาง เกิดเป็นสังคมหรือชุมชนออนไลน์คำนี้มีความหมายมากกว่าสื่อเก่า ๆ อย่าง Mailing List และ UseNet กล่าวคือหมายรวมถึง E-mail , msn , instant messaging , web , blog และ wiki ซอฟต์แวร์ที่มีลักษณะเพื่อการทำงานร่วมกันเรียกว่า Collaborative Software. ในการศึกษาซอฟต์แวร์เพื่อสังคมนั้น เราต้องทำความเข้าใจกับคำว่า “ซอฟต์แวร์เพื่อสังคม” ก่อน
2.ส่วนการจำแนกกลุ่มของซอฟต์แวร์เพื่อสังคมนั้น ในตอนนี้แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ
1. กลุ่มที่ใช้ประโยชน์ในการติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต
2. กลุ่มที่ใช้ประโยชน์ในการจัดการความรู้ เครื่องมือที่จัดว่าเป็นซอฟต์แวร์เพื่อสังคมมีลักษณะการใช้ประโยชน์ร่วมกันในสังคมมนุษย์ เช่น การติดต่อสื่อสาร การแบ่งปันความรู้ การจัดการความรู้ เป็นต้น
3.ชนิดของเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร เครื่องมือเพื่อการสื่อสาร แบ่งออกเป็น 2 แบบคือ
- เครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารสองฝ่ายไม่พร้อมกัน (Asynchronous) คือไม่จำเป็นต้องอยู่ที่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมกัน ตัวอย่างเช่น การใช้ E-mail , Web board , Newsgroup เป็นต้น
4. ตัวอย่างเครื่องมือทางสังคมต่าง ๆ
3.1 Blog ความหมายของคำว่า Blog Blog มาจากคำเต็มว่า WeBlog บางครั้งอ่านว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นทั้งสองคำบ่งบอกถึงความหมายเดียวกันว่านั่นคือ บล็อก (Blog) Blog คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ ใน blog นั้นจะมีเนื้อหาเป็นเรื่องใดก็ได้ เช่น การเขียนเรื่องราวของตนเอง การเขียนวิจารณ์เรื่องราวหรือหัวข้อ
3.2 Internet Forum Internet Forum เป็นส่วนหนึ่งใน World Wide Web ที่มีไว้สำหรับเก็บการอภิปราย หรือซอฟต์แวร์ที่ให้บริการด้านนี้ฟอรั่มในเว็บเริ่มประมาณปี 1995 โดยทำหน้าที่คล้ายกับ Bulletin Board และ Newsgroup ที่มีมากมายในยุค 1980s และ 1990s ความเป็นชุมชนเสมือนของฟอรั่มเกิดจากผู้ใช้ขาประจำประเด็นที่เป็นที่นิยมของฟอรั่มทั่วไปมี เทคโนโลยี เกมคอมพิวเตอร์
3.3 Wiki Wiki อ่านออกเสียง "wicky", "weekee" หรือ "veekee" เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้เราสามารถสร้างและแก้ไขหน้าเว็บเพจขึ้นมาใหม่ผ่านทางบราวเซอร์ โดยไม่ต้องสร้างเอกสาร html เหมือนแต่ก่อน แต่ Wiki เน้นการทำระบบสารานุกรม , HOWTOs ที่รวมองค์ความรู้หลายๆ แขนงเข้าไว้ด้วยกันโดยเฉพาะ มีเครื่องมือที่ใช้ทำ Wiki หลายอย่าง เช่น Wikipedia , MoinMoin , WackoWiki เป็นต้น Wikipedia เป็นระบบสารานุกรม(Encyclopedia) สาธารณะ ที่ทุกคนสามารถใส่ข้อมูลลงไปได้ รองรับภาษามากกว่า 70 ภาษารวมทั้งภาษาไทย สำหรับภาษาไทยสามารถเข้าอ่านได้ที่ http://th.wikipedia.org รายละเอียดเกี่ยวกับ Wiki สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://en.wikipedia.org , http://th.wikipedia.org , http://www.wiki.org
3.4 Instant Messaging เป็นการอนุญาตให้มีการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลบนเครือข่ายที่เป็นแบบ Relative privacy ( ออกจะเป็นส่วนตัว ) ตัวอย่าง client ที่เป็นที่นิยมเช่น Gtalk , Skype , Meetro , ICQ , Yahoo Messenger , MSN Messenger และ AOL Instant Messenger เป็นต้น ในการใช้งาน
3.5 ปัจเจกวิธาน (Folksonomy) ก่อนหน้าการกำเนิดขึ้นของปัจเจกวิธาน โดยทั่วไปแล้ว ได้มีการจัดกลุ่มการจัดระเบียบและค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตโดยทั่วไปมี 3 แบบ คือ
- ค้นหาในเนื้อความ (Text Search)
- เรียงเนื้อหาตามลำดับเวลา (Chronological)
- แยกตามกลุ่มประเภท (Category, Classification)
5.ปัญหาที่พบเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารบนอินเทอร์เน็ต ได้แก่
- เนื้อหามีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วรายวัน - การค้นหาข้อมูลที่ตรงตามความต้องการมากที่สุดทำได้ยาก เนื่องจากเนื้อหาที่มีจำนวนมาก
- การค้นหาข้อมูลเฉพาะด้านที่ขึ้นกับความสนใจของผู้ทำการค้นไม่ตรงจุด
- ข้อมูลที่พบอาจจะขาดความน่าเชื่อถือ การที่ใคร ๆ สามารถสร้างเนื้อหาเผยแพร่บนเว็บได้ง่าย โดยผ่านทาง Blog และ Forum ทำให้การจัดเก็บข้อมูลต้องมีการพิจารณาให้เหมาะสมเพื่อให้สามารถทำงานกับข้อมูลจำนวนมากบนอาณาเขตอินเตอร์เน็ตที่กว้างใหญ่ได้ ปัญหาหนึ่งคือ ไม่สามารถหาวิธีจัดกลุ่มเนื้อหาที่เป็นที่ยอมรับร่วมกันของคนทั้งโลกได้ อาจจะทำได้เพียงไม่ถึง 1 % ของเว็บทั้งหมด
3.6 Knowledge Unifying Initiator (KUI) Knowledge Unifying Initiator หรือเรียกย่อ ๆ ว่า KUI หรือ “คุย” ในภาษาไทยหมายถึงการสนทนา โดยคำว่า Knowledge Unifying Initiator หมายถึง กลุ่มผู้รวบรวมความรู้ โดย KUI จัดว่าเป็นซอฟต์แวร์ทางสังคม(Social Software) และการจัดการความรู้ (Knowledge Management)
2.เทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technology)
เทคโนโลยีการสื่อสาร หมายถึง เทคโนโลยีในการสื่อสารยุคใหม่ 4 กลุ่มได้แก่1. เทคโนโลยีการแพร่ภาพและเสียง (Broadcast and Motion Picture Technology)
2. เทคโนโลยีการพิมพ์ (Print and Publishing Technology)
3. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (Computer Technology)
4. เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunication Technology) บทบาทของเทคโนโลยีการสื่อสารในปัจจุบัน เช่น คอมพิวเตอร์ ดาว-เทียมเพื่อการสื่อสาร โครงข่ายโทรศัพท์ อุปกรณ์ ภาพและเสียง มีผลกระทบต่อ "สื่อแบบดั้งเดิม" (Traditional Media) ซึ่งได้แก่หนังสือพิมพ์ นิตยสารวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ทําให้ เกิดสิ่งที่เรียกว่า "การปฏิวัติแห่งระบบตัวเลข"(Digital Revolution) ทํา ให้ข้อมูลข่าวสารไม่ว่าจะอยู่ในรูปลักษณ์ใด เช่น ข้อความเสียงภาพเคลื่อนไหวรูปภาพ หรืองานกราฟิก ได้รับการปรับเปลี่ยนให้เป็นภาษาอีกชนิดหนึ่งเป็นรูปแบบเดียวกันทั้งหมด คือสามารถอ่านและส่งผ่านได้อย่างรวดเร็วด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วยังสามารถนําเสนอในลักษณะใดก็ได้ตามความต้องการใชhงานของผู้ใช้งาน ความเปลี่ยนแปลงนี้ถูกเรียกขานว่า "การทําให้เป็นระบบตัวเลข" หรือ"ดิจิไทเซชั่น" (Digitization)ด้วยระบบที่มีการทําให้เป็นระบบตัวเลข เป็นปัจจัยสําคัญประการหนึ่งที่ทําให้เกิด "สื่อใหม่" (New Media) ขึ้น เป็นสื่อที่มีลักษณะเกี่ยวข้องกับระบบตัวเลข เครื่องคอมพิวเตอร์ และระบบการสะท้อนกลับ หรือ "อินเตอร์ แอคทีฟ"(Interactive) เทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technology) คือเทคโนโลยีดิจิตัล (Digital Technology) ประเภทหนึ่งซึ่งได้พัฒนาตัวเพื่อเอื้อต่อการจัดการ“การสื่อสาร(Communication)” หรือ “การขนส่งข่าวสาร (Transfer of Information)” เทคโนโลยีการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นทางด้านภาพ (Image) เสียง (Voice) หรือทางด้านข้อมูล (Data) ได้ รับการพัฒนาจนมนุษย์สามารถเชื่อมโยงติดต่อกันได้อย่างสะดวกรวดเร็วและเป็น เครือข่ายที่ติดต่อสื่อสารกันได้ทั่วโลก เป็นยุคของสารสนเทศ (Information Age)และเป็นสังคมสาร- สนเทศ (InformationSociety) ที่นับวันจะมีอัตราการเติบโตขึ้นทุกที่ทั้งในด้านขนาดและปริมาณข่าวสารที่ไหลเวียนอยู่ในสังคม
ที่มา: http://serenaderabbit.blogspot.com/2011/05/communication-technology.html
เทคโนโลยีการจัดเก็บ (Storage technology)
เทคโนโลยีการจัดเก็บ (Storage technology)
“KM มีไว้ใช้ ไม่ใช่มีไว้ทำ”
เป็นเรื่องที่น่ายินดีว่าในช่วงเวลาที่ผ่านมา มีองค์กรหลายองค์กรเริ่มใช้ KM ให้เป็นประโยชน์ได้ เพราะสิบกว่าปีที่ผ่านมาทุกองค์กรตั้งหน้าตั้งตาทำ KM ตามทฤษฎี โดยไม่เกิดผลใดๆ ที่สร้างมูลค่าให้กับองค์กร
ผู้เขียนรู้สึกสงสารคนทำงานทุกคนที่นายสั่งให้รับผิดชอบงาน KM ขององค์กรที่เพื่อนๆ มักจะมองด้วยสายตาซึ่งมีคำถามว่า “จะทำไปทำไม”
KM มีชื่อเต็มว่า Knowledge Management หรือการจัดการความรู้ เป็นเครื่องมือบริหารจัดการที่ฮอตฮิตติดอันดับมายาวนาน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน โดยเฉพาะองค์กรใหญ่ๆ ขานรับเครื่องมือตัวนี้กันถ้วนหน้า ผลผลิตจากการดำเนินการก็คือ คณะกรรมการ KM กลุ่ม CoP และการจัดเก็บความรู้ในระบบ IT ที่มีมากมาย แต่ไม่มีใครเข้าไปใช้
จริงๆ แล้ว เครื่องมือตัวนี้มีประโยชน์มาก แต่ต้องมีความเข้าใจอย่างชัดเจน เพื่อประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับองค์กรตนเอง
ปัญหาก็คือ ผู้บริหารองค์กรไทยมักตื่นเต้นกับเครื่องมือใหม่ โดยไม่ทันได้พิจารณาว่าจะเอาเครื่องมือนั้นมาใช้ประโยชน์อะไรในองค์กร แล้วก็ตั้งหน้าตั้งตาสั่งคนในองค์กรทำตามที่ปรึกษาที่แค่เรียนทฤษฎีมาเหมือนกัน แต่ไม่เคยลงมือทำจริง
มาดูองค์กรที่นำ KM ไปใช้แล้วเกิดผลกันดีกว่า
องค์กรแรกที่ขอปรบมือให้ดังๆ คือกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ที่นำ KM ไปใช้กับหน่วยงานของกรมฯ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยปักธงว่า KM คือการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยใช้ KM ในการปฏิบัติงานประจำวัน ให้คนทำงานปรับวิธีคิดในการทำงานใหม่ นั่นคือเมื่อทำงานเสร็จตามเป้าหมายแล้ว ต้องรู้ว่างานนั้นสำเร็จด้วยวิธีการใด เพื่อที่จะนำไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ต่อยอดกันในองค์กรต่อไป การทำ KM ของกรมอนามัยทำให้คนทำงานอย่างมีความสุข งานสำเร็จ และเกิดนวัตกรรมในการทำงานหลายเรื่องที่น่าตื่นใจ สามารถแก้ไขปัญหาในงานได้ และบางหน่วยงานยังนำ KM ไปใช้กับการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย ทำให้การขับเคลื่อนนโยบายของกรมอนามัยมีเกิดผลสำเร็จ สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชน เช่น นโยบายส้วมสะอาด นโยบายตลาดห้าดาว เป็นต้น
องค์กรที่สอง บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) อดีตพันธมิตรของแป๊บซี่ การถอนตัวของแป๊ปซี่ที่ไปพร้อมลิขสิทธิ์คู่มือการบริหารการผลิตต่างๆ ทำให้องค์กรตกอยู่ในสภาวะอกสั่นขวัญแขวนพักใหญ่ แต่ผู้บริหารฉุกคิดได้ว่าถึงแป๊ปซี่จะเอาองค์ความรู้ที่เป็นเอกสารไป แต่องค์ความรู้ที่มี่อยู่ในตัวคนทำงานของเสริมสุขเองยังมีอยู่ จึงเป็นที่มาของการใช้ KM ดึงเอาองค์ความรู้เหล่านั้นออกมา โดยปรับแนวทางการทำ KM ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของคนในองค์กร ทำให้ KM เป็นเรื่องสนุกที่มีสาระ สร้างประสิทธิผลในการทำงาน เช่น จำนวนเปอร์เซ็นต์ที่เพิ่มขึ้นของการเสนอแนะในการปรับปรุงงานของกิจกรรม Kaizen จาก 9% ในเดือนพฤษภาคม เป็น 49% ในเดือนสิงหาคม ความคืบหน้าในการทำโครงการ TPM เป็นต้น
องค์กรที่สาม บริษัท ดาสโก้ จำกัด โรงงานผลิต Baby Carrier ที่ใช้ในรถยนต์ เป็นสินค้าประเภท Niche Market ที่ต้องการความปลอดภัยและประณีตสูงมาก การผลิตจึงมีต้นทุนสูง ขณะที่ยอดสั่งซื้อมีแบบที่หลากหลาย การผลิตจึงต้องปรับรูปแบบตามคำสั่งซื้ออยู่เสมอ และปัญหาก็คือทุกครั้งที่มีรูปแบบการผลิตใหม่ๆ โรงงานจะต้องพบกับปัญหาการสูญเสียมาก ทำให้ต้นทุนสูง ถึงขั้นขาดทุนในการผลิตครั้งแรก แม้ว่าที่ผ่านมาดาสโก้จะนำเครื่องมือการบริหารจัดการหลายชนิดเข้ามาใช้ รวมทั้ง KM แต่ก็ยังแก้ไขป้ญหาไม่ได้ จนกระทั่ง มีการปรับวิธีการทำ KM แบบใหม่ นั่นคือการนำ KM มาใช้ในการแก้ไขปัญหาการผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ ด้วยการใช้เวที CoP ที่เคยทำมา แต่ตั้งเป้าหมายในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ชัดเจน ทำให้สามารถลดการสูญเสียได้อย่างน่าพอใจ เช่น ระยะเวลาในการผลิตลดลงจาก 24 สัปดาห์เป็น 12.5 สัปดาห์ อัตราเปอร์เซ็นต์ค่างาน Rework ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ในการทำผลิตภัณฑ์ใหม่ในครั้งแรกที่เคยขาดทุน 10% ของราคาขาย สามารถทำกำไรตั้งแต่การทำผลิตใหม่ในครั้งแรกถึง 3-17%
องค์กรที่สี่ บริษัท คาร์เปทอินเตอร์ แนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตพรมคุณภาพ ในการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น และผู้บริโภคหันไปใช้วัสดุอย่างอื่นแทนพรม ทำให้ต้องปรับตัวโดยหันไปหา Niche Market เช่นเดียวกัน แต่ปัญหาก็คือการปรับเครื่องจักรเพื่อขึ้นรูปแบบการผลิตใหม่นั้น ต้องใช้ความชำนาญสูงมาก เพื่อให้ใช้เวลาให้สั้นที่สุด การผลิตสินค้าเพื่อตลาดระดับบนนั้น เป็นการผลิตในจำนวนไม่มาก และมีแบบที่หลากหลาย จึงต้องมีการปรับเครื่องจักรบ่อย ในขณะที่พนักงานที่มีความเชี่ยวชาญนั้นจะเป็นผู้ที่ทำงานมานาน และมีจำนวนไม่มาก ผู้บริหารจึงนำ KM มาใช้ในการแก้ปัญหานี้ นั่นคือการถ่ายทอดความชำนาญในการปรับเครื่องจักรจากพนักงานอาวุโสไปสู่พนักงานรุ่นใหม่ ให้มีความสามารถใกล้เคียงกัน ด้วยการทำ CoP ในหัวข้อ “ขั้นตอนการปรับตั้งเครื่อง” และ “ปัญหาที่พบในการปรับตั้งเครื่อง” และจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำให้มีคู่มือในการทำงานเป็นองค์ความรู้ขององค์กร ถึง 3 คู่มือคือ คู่มือกระบวนการทอจักรใหญ่ คู่มือการปรับตั้งเครื่องจักร และคู่มือการปรับแก้เครื่องจักร ผลจากการดำเนินการดังกล่าว สามารถลดระยะเวลาในการปรับเครื่องจักรได้ การผลิตจึงใช้เวลาสั้นลง ต้นทุนก็ลดลงตามไปด้วย
ปัจจัยแห่งความสำเร็จของทั้งสี่องค์กรก็คือผู้บริหารมีความมุ่งมั่น และเข้าใจในการนำ KM ไปใช้ให้เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง ไม่ใช่ทำตามกระแส หรือทำเพื่อสร้างภาพลักษณ์ จึงมีการสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพในการขับเคลื่อน ปรับวิธีการ และสร้างสรรค์กิจกรรมให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมองค์กร ทำให้พนักงานร่วมกิจกรรมอย่างมีความสุข และได้พัฒนางานไปในขณะเดียวกันและนั่นเองคือเคล็ดลับความสำเร็จของการบริหารจัดการซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในเครื่องมือบริหารจัดการอื่นๆ ได้เช่นกัน
ที่มา: คอลัมน์ Productivity food for thought หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 26 ธันวาคม 2557
อ้างอิงจาก http://www.ftpi.or.th/2015/5776
เครื่องมือในการจัดการความรู้
กรมการปกครองได้จัดทำแผนการจัดการความรู้ (KM Action Plan) ซึ่งปรากฏอยู่ในเอกสาร “คำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2549” ซึ่งได้ส่งให้ ก.พ.ร.เมื่อวันที่ 30 ม.ค.2549 แล้ว เมื่อพิจารณาเฉพาะเนื้อหาสาระในแผนดังกล่าว จะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ 1) แผนการจัดการความรู้ในส่วนของกระบวนการจัดการความรู้ (KM Process) 2) แผนการจัดการความรู้ในส่วนของกระบวนการจัดการเปลี่ยนแปลง (Change Management Process)
ซึ่งทั้ง 2 ส่วน จะมีความสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาความยากจนตามขอบเขต และเป้าหมายที่กำหนดไว้ให้บรรลุผล ขณะเดียวกันในแต่ละ ส่วนก็จะมีโครงการและกิจกรรมของแต่ละสำนัก กอง รองรับ เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ซึ่งขณะนี้มีอยู่ไม่น้อยกว่า 15 โครงการ/กิจกรรม การขับเคลื่อนการจัดการความรู้ของกรมการปกครองเพื่อสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความยากจนเป็นงานที่มีความสำคัญอีกงานหนึ่ง ที่ต้องการ พลังการมีส่วนร่วมของทุก ๆ ส่วน ทั้งส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค และจะเป็นอีกก้าวหนึ่งที่สำคัญในการที่จะก่อเกิดการรวบรวมสะสมองค์ความรู้ การใช้ประโยชน์และต่อยอดองค์ความรู้ในการแก้ไขปัญหาความยากจน
การจัดการความรู้ประกอบด้วย กระบวนการหลัก ๆ ได้แก่ การค้นหาความรู้ การสร้างและแสวงหา ความรู้ใหม่ การจัดความรู้ให้เป็นระบบ การประมวลผลและกลั่นกรองความรู้ การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ สุดท้ายคือ การเรียนรู้ และเพื่อให้มีการนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร เครื่องมือหลากหลายประเภทถูกสร้างขึ้นมาเพื่อนำไปใช้ในการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้ ซึ่งอาจแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1. เครื่องมือที่ช่วยในการ “เข้าถึง” ความรู้ ซึ่งเหมาะสำหรับความรู้ประเภท Explicit มักเป็นแบบทางเดียว
2. เครื่องมือที่ช่วยในการ “ถ่ายทอด” ความรู้ ซึ่งเหมาะสำหรับความรู้ประเภท Tacit อาศัยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นหลัก
ในบรรดาเครื่องมือดังกล่าวที่มีผู้นิยมใช้กันมากประเภทหนึ่งคือ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ หรือชุมชน นักปฏิบัติ (Communityof Practice : CoP)
การจัดการความรู้ประกอบด้วย กระบวนการหลัก ๆ ได้แก่ การค้นหาความรู้ การสร้างและแสวงหา ความรู้ใหม่ การจัดความรู้ให้เป็นระบบ การประมวลผลและกลั่นกรองความรู้ การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ สุดท้ายคือ การเรียนรู้ และเพื่อให้มีการนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร เครื่องมือหลากหลายประเภทถูกสร้างขึ้นมาเพื่อนำไปใช้ในการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้ ซึ่งอาจแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1. เครื่องมือที่ช่วยในการ “เข้าถึง” ความรู้ ซึ่งเหมาะสำหรับความรู้ประเภท Explicit มักเป็นแบบทางเดียว
2. เครื่องมือที่ช่วยในการ “ถ่ายทอด” ความรู้ ซึ่งเหมาะสำหรับความรู้ประเภท Tacit อาศัยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นหลัก
ในบรรดาเครื่องมือดังกล่าวที่มีผู้นิยมใช้กันมากประเภทหนึ่งคือ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ หรือชุมชน นักปฏิบัติ (Communityof Practice : CoP)
เครื่องมือ (Tools)
1. ชุมชนนักปฏิบัติ (Community of practice : CoP)
2. การศึกษาดูงาน (Study tour)
3. การทบทวนหลังปฏิบัติการหรือการถอดบทเรียน (After action review : AAR)
4. การเรียนรู้ร่วมกันหลังงานสำเร็จ (Retrospect)
5. เรื่องเล่าเร้าพลัง (Springboard Storytelling)
6. การค้นหาสิ่งดีรอบตัว หรือสุนทรียสาธก (Appreciative Inquiring)
7. เวทีเสวนา หรือสุนทรียสนทนา (Dialogue)
8. เพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Assist)
9. การเรียนรู้โดยการปฏิบัติ (Action Learning)
10. มาตรฐานเปรียบเทียบ (Benchmarking)
11. การสอนงาน (Coaching)
12. การเป็นพี่เลี้ยง (Mentoring)
13. ฟอรัม ถาม – ตอบ (Forum)
14. บทเรียนจากความผิดพลาด (Lesson Learning)
15. เวทีกลุ่มเฉพาะ (Focus Group)
โดย Dr. Phichet Banyati #
อ้างอิงจาก http://www.thaiall.com/km/indexo.html#km8
"KM คืออะไร"
"KM คืออะไร"
การจัดการความรู้ หรือ KM ซึ่งที่ย่อมาจากคำว่า “Knowledge Management”
การจัดการความรู้ หรือเคเอ็ม (KM = Knowledge Management) คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด
โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ 1) ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม 2) ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม
กระบวนการจัดการความรู้
กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management) เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้เกิดพัฒนาการของความรู้ หรือการจัดการความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร มีทั้งหมด 7 ขั้นตอน#
1. การบ่งชี้ความรู้ (Knowledge Identification)
เป็นการพิจารณาว่าองค์กรมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ต้องใช้อะไร ปัจจุบันมีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด และอยู่ที่ใคร
2. การสร้างและแสวงหาความรู้ (Knowledge Creation and Acquisition)
เป็นการสร้าง แสวงหา รวบรวมความรู้ทั้งภายใน/ภายนอก รักษาความรู้เดิม แยกความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้วออกไป
3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge Organization)
เป็นการกำหนดโครงสร้างความรู้ แบ่งชนิด ประเภท เพื่อให้สืบค้น เรียกคืน และใช้งานได้ง่าย
4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification and Refinement)
เป็นการปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน ปรับปรุงเนื้อหาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
5. การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access)
เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) Web board บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing)
เป็นการแบ่งปัน สามารถทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีที่เป็นความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) อาจจัดทำเป็นเอกสาร ฐานความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีที่เป็นความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) จัดทำเป็นระบบทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น
7. การเรียนรู้ (Learning)
เป็นการนำความรู้มาใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจ แก้ปัญหา และทำให้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่น เกิดระบบการเรียนรู้จากสร้างองค์ความรู้ การนำความรู้ในไปใช้ เกิดการเรียนรู้ และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง
1. การบ่งชี้ความรู้ (Knowledge Identification)
เป็นการพิจารณาว่าองค์กรมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ต้องใช้อะไร ปัจจุบันมีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด และอยู่ที่ใคร
2. การสร้างและแสวงหาความรู้ (Knowledge Creation and Acquisition)
เป็นการสร้าง แสวงหา รวบรวมความรู้ทั้งภายใน/ภายนอก รักษาความรู้เดิม แยกความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้วออกไป
3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge Organization)
เป็นการกำหนดโครงสร้างความรู้ แบ่งชนิด ประเภท เพื่อให้สืบค้น เรียกคืน และใช้งานได้ง่าย
4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification and Refinement)
เป็นการปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน ปรับปรุงเนื้อหาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
5. การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access)
เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) Web board บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing)
เป็นการแบ่งปัน สามารถทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีที่เป็นความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) อาจจัดทำเป็นเอกสาร ฐานความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีที่เป็นความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) จัดทำเป็นระบบทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น
7. การเรียนรู้ (Learning)
เป็นการนำความรู้มาใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจ แก้ปัญหา และทำให้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่น เกิดระบบการเรียนรู้จากสร้างองค์ความรู้ การนำความรู้ในไปใช้ เกิดการเรียนรู้ และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง
หัวใจของการจัดการความรู้
มีผู้รู้ได้กล่าวถึง KM หลายแง่หลายมุมที่อาจรวบรวมมาชี้ธงคำตอบว่า หัวใจของ KM อยู่ที่ไหนได้ โดยอาจกล่าวเป็นลำดับขั้นหัวใจของ KM เหมือนกับลำดับขั้นของความต้องการ ( Hierarchy of needs ) ของ Mcgregor ได้ โดยเริ่มจากข้อสมมุติฐานแรกที่เป็นสากลที่ยอมรับทั่วไปว่าความรู้คือพลัง (DOPA KM Team)
1. Knowledge is Power : ความรู้คือพลัง
2. Successful knowledge transfer involves neither computers nor documents but rather in interactions between people. (Thomas H Davenport) : ความสำเร็จของการถ่ายทอดความรู้ไม่ใช่อยู่ที่คอมพิวเตอร์หรือเอกสาร แต่อยู่ที่การมีปฏิสัมพันธ์ ระหว่างคนด้วยกัน
3. The great end of knowledge is not knowledge but action : จุดหมายปลายทางสำคัญของความรู้มิใช่ที่ตัวความรู้แต่อยู่ที่การนำไปปฏิบัติ
4. Now the definition of a manager is somebody who makes knowledge productive : นิยามใหม่ของผู้จัดการ คือผู้ซึ่งทำให้ความรู้ผลิตดอกออกผล
จะเห็นว่าจากข้อความที่กล่าวถึง ความรู้ดังกล่าวพอทำให้มองเห็นหัวใจของ KM เป็นลำดับชั้นมาเริ่มแต่ข้อความแรกที่ว่า ความรู้คือพลังหรือความรู้คืออำนาจ ซึ่งเป็นข้อความเป็นที่ยอมรับที่เป็นสากล ทั้งภาคธุรกิจ เอกชน และภาคราชการ จากการยอมรับดังกล่าวมาสู่การเน้นที่ปฏิสัมพันธ์ของคนว่ามีความสำคัญในการถ่ายทอดความรู้กว่าเครื่องมือหรือเอกสารใดและมักกล่าวถึงว่า แม้ความรู้จะถูกจัดระบบและง่ายต่อการเข้าถึงของบุคคล ต่าง ๆ ดีเพียงใดก็ตาม ถ้ามีความรู้ เกิดความรู้ขึ้นแล้ว หากไม่นำไปใช้ประโยชน์ ก็ไม่ใช่จุดหมายปลายทางของ ความรู้และที่ชัดเจนก็คือ ประโยคสุดท้ายที่เน้นการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ให้เกิดมรรคผลมีคุณค่าประโยชน์เป็นรูปธรรมว่านั่นเป็นนิยามใหม่ของผู้ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการเลยทีเดียว ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าหัวใจของ KM อยู่ที่การนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม
อ้างอิงจาก http://www.thaiall.com/km/indexo.html#km8
SECI Model
เป็นการสร้างองค์ความรู้ด้วยการขยายผลจากชนิดความรู้คือ ความรู้ที่อยู่ในสมองของคน(Tacit Knowledge) กับความรู้ที่ได้จากสื่อภายนอก(Explicit Knowledge)โมเดลดังกล่าวมีชื่อว่า “SECI- Knowledge Conversion Process” ซึ่งมีกระบวนการดังนี้
จากโมเดล SECI ของ Nonaka และ Takeuchi ที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายและมุ่งเน้นการสร้างความรู้ขององค์กรให้เติบโตขึ้น โดยการเชื่อมโยงการสร้างองค์ความรู้ทั้งในรูปแบบความรู้โดยนัย (Tacit Knowledge) และความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ให้เหมาะสมกับลักษณะของกลุ่มคนในองค์กรให้มีส่วนร่วมในการสร้างความรู้ มีวิธีการ 4 ลักษณะ ได้แก่
1 การแลกเปลี่ยน ปันความรู้ที่เป็น Tacit Knowledge ผ่านเครือข่าย หรือ Socialization โดยการแลกเปลี่ยน ปันความรู้ระหว่างผู้เชี่ยวชาญ หรือจากการไปดูงานแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ฯลฯ
2 การสร้างความรู้จากผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญ โดยการปันความรู้จากประสบการณ์ (Tacit Knowledge) มาเป็นความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ที่ให้ผู้อื่นสามารถเรียนรู้ต่อได้ โดยง่าย หรือที่เรียกว่า Externalization
3 การเรียนรู้ แสวงหาความรู้จากภายนอกแล้วบูรณาการเชื่อมโยงความรู้เหล่านั้นให้เข้ากับบริบทขององค์กร เป็นโมเดลและภาษาขององค์กร ให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้
4 เมื่อเรานำความรู้ที่เกิดขึ้นจากสามขั้นตอนข้างต้น มาลงมือสู่การปฏิบัติจะเกิดการซึมทราบเป็นประสบการณ์ เป็น Tacit Knowledge หรือเรียกว่า Internalization
1. ส่วนของ Socialization (S) ได้ประยุกต์โดยการสร้างระบบกระดานสนทนาเพื่อเป็นที่แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้เชี่ยวชาญกับบุคคลทั่วไป
2. ส่วนของ Externalization (E) เป็นส่วนของการรวบรวมเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการสร้างระบบจัดเก็บงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการรักษาสุนัข และการจัดทำระบบฐานข้อมูลที่ผู้เชี่ยวชาญสามารถเข้ามาทำการเพิ่มหรือแก้ไขข้อมูลได้
3. ส่วนของ Combination(C) เป็นการสร้างระบบการวิเคราะห์ข้อมูลโรคจากอาการของสุนัขและการแสดงรายละเอียดของโรคที่วิเคราะห์ได้
4. ส่วนของ Internalization (I) เป็นส่วนที่ใช้ในการวัดสถิติการเข้าใช้งานของผู้ใช้งานโดยทั่วไป เช่น การวัดจำนวนครั้งในการดาวน์โหลดงานวิจัย, การวัดสถิติการเข้าชมวีดีโอที่เกี่ยวข้องและการเก็บสถิติชื่อโรคที่ผู้ใช้เข้ามาทำการค้นหา เป็นต้น
1.Socialization เป็นการถ่ายโอนความรู้โดยตรงระหว่างกลุ่มคนหรือบุคคล โดยไม่ผ่านการเขียน เรียกว่า “ การเสวนาธรรม” กลุ่มคนที่มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากคนหนึ่งไปอีกคนหนึ่ง กลุ่มคนที่มาเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้กันนี้มักจะมีพื้นฐานความรู้ที่สอดคล้องกัน หรือเคยมีประวัติอดีตที่คล้ายคลึงกัน จะมีคลื่นความถี่ที่ใกล้เคียงกันสามารถสื่อสารและทำความเข้าใจกันได้โดยง่าย
TK TK ถ่ายทอดจากคนสู่คน
2. Externalization เป็นการถ่ายโอนความรู้จากผู้เชี่ยวชาญที่มีความสามารถในการสอนผ่านสื่อต่างๆ จากประสบการณ์ในสมองของเขาออกมาสู่ภายนอกแก่ผู้อื่น
TK EK
TK EK
3. Combination การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆให้ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลง และมีการศึกษาเรียนรู้จากความรู้ภายนอก ซึ่งแนวคิดจะมีความหลากหลายมากต้องสร้างความเข้าใจแลเชื่อมโยงความรู้อันหลากหลายให้ได้ และถ่ายทอดความรู้ใหม่ๆให้กับองค์กรของตน
EK EK
4. Internalization การนำความรู้ใหม่มาลงมือปฏิบัติจริง ผู้ปฏิบัติจะเกิดการเรียนรู้ให้เกิดเป็นความรู้ประสบการณ์และปัญญา เป็นประสบการณ์อยู่ในสมองในเชิง Tacit Knowledge ต่อไป
EK TK
EK EK
4. Internalization การนำความรู้ใหม่มาลงมือปฏิบัติจริง ผู้ปฏิบัติจะเกิดการเรียนรู้ให้เกิดเป็นความรู้ประสบการณ์และปัญญา เป็นประสบการณ์อยู่ในสมองในเชิง Tacit Knowledge ต่อไป
EK TK
นำความรู้จาก Explicit มาปฏิบัติ
โดยความรู้นั้น ทาง KM พบว่ามีอยู่ 2 ชนิด ได้แก่
- Tacit Knowledge คือ ความรู้ที่ได้มาจากประสบการณ์และไม่สามารถบรรยายเป็นถ้อยคำ ถ้อยความ หรือสูตรได้ และขึ้นอยู่กับความเชื่อ รวมทั้งทักษะเชิงวิชาการของบุคคลที่จะ กลั่นกรองความรู้ ความรู้ชนิดนี้สามารถพัฒนาและแบ่งปันกันได้ และเป็นความรู้ที่จะทำให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน
- Explicit Knowledge คือ ความรู้ที่เป็นเหตุและผลที่สามารถจะบรรยาย/ถอดความ ออกมาได้ในรูปของทฏษฎี การแก้ไขปัญหา คู่มือ และฐานข้อมูล (ทุกคนสามารถเข้าถึง/ซื้อได้)
ตัวอย่างการทำ SECI Model
รูปภาพ SECI Model
จากโมเดล SECI ของ Nonaka และ Takeuchi ที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายและมุ่งเน้นการสร้างความรู้ขององค์กรให้เติบโตขึ้น โดยการเชื่อมโยงการสร้างองค์ความรู้ทั้งในรูปแบบความรู้โดยนัย (Tacit Knowledge) และความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ให้เหมาะสมกับลักษณะของกลุ่มคนในองค์กรให้มีส่วนร่วมในการสร้างความรู้ มีวิธีการ 4 ลักษณะ ได้แก่
1 การแลกเปลี่ยน ปันความรู้ที่เป็น Tacit Knowledge ผ่านเครือข่าย หรือ Socialization โดยการแลกเปลี่ยน ปันความรู้ระหว่างผู้เชี่ยวชาญ หรือจากการไปดูงานแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ฯลฯ
2 การสร้างความรู้จากผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญ โดยการปันความรู้จากประสบการณ์ (Tacit Knowledge) มาเป็นความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ที่ให้ผู้อื่นสามารถเรียนรู้ต่อได้ โดยง่าย หรือที่เรียกว่า Externalization
3 การเรียนรู้ แสวงหาความรู้จากภายนอกแล้วบูรณาการเชื่อมโยงความรู้เหล่านั้นให้เข้ากับบริบทขององค์กร เป็นโมเดลและภาษาขององค์กร ให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้
4 เมื่อเรานำความรู้ที่เกิดขึ้นจากสามขั้นตอนข้างต้น มาลงมือสู่การปฏิบัติจะเกิดการซึมทราบเป็นประสบการณ์ เป็น Tacit Knowledge หรือเรียกว่า Internalization
นำSECI Model มาประยุกต์ใช้อย่างไร
1. ส่วนของ Socialization (S) ได้ประยุกต์โดยการสร้างระบบกระดานสนทนาเพื่อเป็นที่แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้เชี่ยวชาญกับบุคคลทั่วไป
2. ส่วนของ Externalization (E) เป็นส่วนของการรวบรวมเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการสร้างระบบจัดเก็บงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการรักษาสุนัข และการจัดทำระบบฐานข้อมูลที่ผู้เชี่ยวชาญสามารถเข้ามาทำการเพิ่มหรือแก้ไขข้อมูลได้
3. ส่วนของ Combination(C) เป็นการสร้างระบบการวิเคราะห์ข้อมูลโรคจากอาการของสุนัขและการแสดงรายละเอียดของโรคที่วิเคราะห์ได้
4. ส่วนของ Internalization (I) เป็นส่วนที่ใช้ในการวัดสถิติการเข้าใช้งานของผู้ใช้งานโดยทั่วไป เช่น การวัดจำนวนครั้งในการดาวน์โหลดงานวิจัย, การวัดสถิติการเข้าชมวีดีโอที่เกี่ยวข้องและการเก็บสถิติชื่อโรคที่ผู้ใช้เข้ามาทำการค้นหา เป็นต้น
วงจรความรู้แบบ SECI
เป็นวงจรความรู้ ที่นำเสนอโดย Ikujiro Nonaka และ Takeuchi กล่าวถึง การเปลี่ยนแปลงความรู้ (Knowledge conversion) ระหว่าง Tacit knowledge และ Explicit knowledge ทำให้เกิดความรู้ใหม่ขึ้น หมุนเป็นเกลียวไปเรื่อยๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด เพราะการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา การสร้างความรู้จะเกิดขึ้นได้ 4 รูปแบบ คือ Socialization, Externalization, Combination และ Internalization กล่าวคือ Socialization: การแบ่งปันและการสร้าง Tacit knowledge จากการติดต่อสื่อารระหว่างกันโดยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตรง เช่น การพูดคุย นาย ก ได้เรียนรู้เทคนิคการเป็นวิทยากรจาก นาย ข ที่ประสบผลสำเร็จในการสอนจากการพูดคุยกัน นาย ก จะได้รับความรู้จากนาย ข มาเป็นความรู้ของตนเองเพื่อนำมาใช้พัฒนาเทคนิคในการสอนของตนเอง Externalization: คือ การสร้างและแบ่งปันความรู้จากสิ่งที่มี (Tacit knowledge) และเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร (Explicit knowlegde) กล่าวคือ นาย ก หลังจากได้เรียนรู้เทคนิคต่างๆ แล้วนำมาเขียนเป็นหนังสือเผยแพร่ให้กับผู้สนใจทั่วไป Combination: เป็นการรวบรวมความรู้ประเภท Explicit knowledge ที่เรียนรู้มาสร้างเป็นความรู้ประเภท Explicit ใหม่ๆ เช่น กรณีที่นาย ก ศึกษาเพิ่มเติมถึงเทคนิคการสอนจากหลายๆ แห่ง แล้วสรุปและเผยแพร่เป็นเทคนิคการสอนรูปแบบใหม่ ซึ่งเกิดจากการรวบรวมความรู้จากแหล่งต่างๆ และความรู้ของตนเอง Internationalization: เป็นการแปลง Explicit knowledge มาเป็น Tacit knowledge เป็นการนำความรู้ที่เรียนรู้มาไปปฏิบัติ กล่าวคือ คนอื่นๆ ศึกษาเทคนิคการสอนหรือการเป็นวิทยากรจากตำรา หรือหนังสือที่มีอยู่ อาจรวมถึงหนังสือที่นาย ก เขียน แล้วนำไปปรับใช้ในการทำงานของตนเอง จนทำให้เกิดทักษะและความชำนาญจนกลายเป็น tacit knowledge ของตนเองในที่สุด และเมื่อเกิดความรู้แล้วก็เกิดการแลกเปลี่ยนกับคนอื่นๆ ต่อไปก็จะเกิดกระบวนการที่เรียกว่า Socialization ขึ้นเอง เป็นกระบวนการที่หมุนเวียนไปเรื่อยๆ
อ้างอิงจาก http://ywararat.blogspot.com/
เป็นวงจรความรู้ ที่นำเสนอโดย Ikujiro Nonaka และ Takeuchi กล่าวถึง การเปลี่ยนแปลงความรู้ (Knowledge conversion) ระหว่าง Tacit knowledge และ Explicit knowledge ทำให้เกิดความรู้ใหม่ขึ้น หมุนเป็นเกลียวไปเรื่อยๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด เพราะการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา การสร้างความรู้จะเกิดขึ้นได้ 4 รูปแบบ คือ Socialization, Externalization, Combination และ Internalization กล่าวคือ Socialization: การแบ่งปันและการสร้าง Tacit knowledge จากการติดต่อสื่อารระหว่างกันโดยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตรง เช่น การพูดคุย นาย ก ได้เรียนรู้เทคนิคการเป็นวิทยากรจาก นาย ข ที่ประสบผลสำเร็จในการสอนจากการพูดคุยกัน นาย ก จะได้รับความรู้จากนาย ข มาเป็นความรู้ของตนเองเพื่อนำมาใช้พัฒนาเทคนิคในการสอนของตนเอง Externalization: คือ การสร้างและแบ่งปันความรู้จากสิ่งที่มี (Tacit knowledge) และเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร (Explicit knowlegde) กล่าวคือ นาย ก หลังจากได้เรียนรู้เทคนิคต่างๆ แล้วนำมาเขียนเป็นหนังสือเผยแพร่ให้กับผู้สนใจทั่วไป Combination: เป็นการรวบรวมความรู้ประเภท Explicit knowledge ที่เรียนรู้มาสร้างเป็นความรู้ประเภท Explicit ใหม่ๆ เช่น กรณีที่นาย ก ศึกษาเพิ่มเติมถึงเทคนิคการสอนจากหลายๆ แห่ง แล้วสรุปและเผยแพร่เป็นเทคนิคการสอนรูปแบบใหม่ ซึ่งเกิดจากการรวบรวมความรู้จากแหล่งต่างๆ และความรู้ของตนเอง Internationalization: เป็นการแปลง Explicit knowledge มาเป็น Tacit knowledge เป็นการนำความรู้ที่เรียนรู้มาไปปฏิบัติ กล่าวคือ คนอื่นๆ ศึกษาเทคนิคการสอนหรือการเป็นวิทยากรจากตำรา หรือหนังสือที่มีอยู่ อาจรวมถึงหนังสือที่นาย ก เขียน แล้วนำไปปรับใช้ในการทำงานของตนเอง จนทำให้เกิดทักษะและความชำนาญจนกลายเป็น tacit knowledge ของตนเองในที่สุด และเมื่อเกิดความรู้แล้วก็เกิดการแลกเปลี่ยนกับคนอื่นๆ ต่อไปก็จะเกิดกระบวนการที่เรียกว่า Socialization ขึ้นเอง เป็นกระบวนการที่หมุนเวียนไปเรื่อยๆ
อ้างอิงจาก http://ywararat.blogspot.com/
โมเดลปลาทู (Tuna Model )
ประพนธ์ ผาสุขยืด (2547 ) ได้เสนอกรอบความคิดการจัดการความรู้ แบบปลาทู (Tuna Model) เป็นกรอบความคิดอย่างง่ายในการจัดการความรู้ของสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) โดยเปรียบการจัดการความรู้เสมือนปลาหนึ่งตัว ซึ่งมีส่วนประกอบ 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ลำตัว และหางปลา
ตัวแบบปลาทู (Tuna Model) ที่เปรียบการจัดการความรู้เหมือนปลาหนึ่งตัว โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้คือ
- ส่วนหัวปลา (Knowledge Vision : KV) ส่วนที่เป็นเป้าหมาย คือเป้าหมาย วิสัยทัศน์หรือทิศทางของการจัดการความรู้ มองหาเส้นทางที่เดินทางไป แล้วคิดวิเคราะห์ว่า จุดหมายอยู่ที่ไหนต้องว่ายแบบใดไปในเส้นทางไหน และไปอย่างไร ในที่นี้เราจะเปรียบเป็น การบ่งชี้ความรู้ (Knowledge Identification) ก่อนที่เราจะทำงานอะไรซักอย่างเราต้องรู้ก่อนว่าเราต้องการอะไร จุดหมายคืออะไร และต้องทำอย่างบ้าง
ต้องสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ขององค์กร ความเป็นจริงของการจัดการความรู้ไม่ใช่เป้าหมาย แต่เป็นกระบวนการหรือกลยุทธ์ที่ทำให้งานบรรลุผลตามที่ต้องการโดยใช้ความรู้เป็นฐานหรือเป็นปัจจัยให้งานสำเร็จ อาทิเช่น
- การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะสู่ความเป็นเลิศ
- การจัดการความรู้ เพื่อพัฒนาคุณภาพให้ได้รับการรองรับมาตรฐาน
- การจัดการความรู้ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารงาน โดยที่ส่วนหัวปลาจะต้องเป็นของผู้ดำเนินกิจกรรมการจัดการความรู้ทั้งหมด หรือ “คุณกิจ” โดยมี “คุณเอื้อ” และ “คุณอำนวย” คอยช่วยเหลือ
- ส่วนกลางลำตัว (Knowledge Sharing : KS) เป็นส่วนกิจกรรม คือ ส่วนลำตัวที่มีหัวใจของปลาอยู่ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย ในที่นี้เราจะเปรียบเป็น การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing) คือเราจำเป็นต้องสร้างบรรยากาศที่เกิดการเรียนรู้เพื่อให้คนเข้ามาแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน จัดเป็นส่วนสำคัญที่สุด และยากที่สุดในกระบวนการจัดการความรู้
ทั้งนี้เพราะจะต้องสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้คนยินยอมพร้อมใจที่จะแบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกันโดยไม่หวงวิชา โดยเฉพาะความรู้ที่ซ่อนเร้นหรือความรู้ฝังลึกที่มีอยู่ในตัวผู้ปฏิบัติงานหรือคุณกิจ พร้อมอำนวยให้เกิดบรรยากาศในการเรียนรู้แบบเป็นทีม ให้เกิดการหมุนเวียนความรู้ ยกระดับความรู้และเกิดนวัตกรรม ส่วนตัวปลา บุคคลที่เป็นผู้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือ “คุณกิจ” โดยมี “คุณอำนวย” เป็นผู้คอยจุดประกายและอำนวยความสะดวก
สรุปว่า ในกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่แนบแน่นอยู่กับการทำงานนี้ เราแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันสภาพจิตทั้ง 3 ระดับ คือ ระดับมีสติรู้สำนึก ระดับจิตใต้สำนึก และระดับจิตเหนือสำนึกอย่างซับซ้อน โดยที่จิตของสมาชิกทุกคนมีอิสระในการคิด การตีความตามพื้นฐานของตน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้นี้อาศัยพลังความแตกต่างของสมาชิก โดยมีจุดร่วมอยู่ที่การบรรลุ “หัวปลา” ของการจัดการความรู้ และ “หัวปลา” ขององค์กร
- ส่วนที่เป็นหางปลา (Knowledge Assets : KA) เป็นส่วนการจดบันทึก คือ องค์ความรู้ที่องค์กรได้เก็บสะสมไว้เป็นคลังความรู้หรือขุมความรู้ ซึ่งมาจาก 2 ส่วนคือ
- ความรู้ที่ชัดแจ้งหรือความรู้เปิดเผย (Eplicit Knowledge) คือ ความรู้เชิงทฤษฎีที่ปรากฏให้เห็นชัดเจนอย่างเป็นรูปธรรม เช่น เอกสาร ตำรา และคู่มือปฏิบัติงาน เป็นต้น
- ความรู้ซ่อนเร้นหรือความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) คือ ความรู้ที่มีอยู่ในตัวคน ไม่ปรากฏชัดเจนเป็นรูปธรรม แต่เป็นสิ่งที่มีคุณค่ามาก เมื่อบุคคลออกจากองค์กรไปแล้ว และความรู้นั้นยังคงอยู่กับองค์กร ไม่สูญหายไปพร้อมกับตัวบุคคล
การจัดการความรู้ในส่วนนี้เป็นส่วนที่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยในการจัดเก็บ จัดหมวดหมู่ เพื่อสะดวกในการเข้าถึง และปรับปรุงความรู้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ (Update) ช่วยทำหน้าที่เป็นพื้นที่เสมือน (Virtual Space) ให้คนที่อยู่ไกลกันสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Share and Learn) ได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น บุคคลที่เป็นผู้สกัดแก่นความรู้ คือ “คุณกิจ” โดยมี “คุณลิขิต” เป็นผู้ช่วยจดบันทึก โดยที่ในบางกรณี “ คุณลิขิต” ก็ช่วยตีความด้วย
ในสังคมไทยมีการจัดการความรู้ที่ทำกันอยู่ตามธรรมชาติ โดยไม่รู้ตัวอยู่ไม่น้อย กล่าวคือมี “ตัวปลา” หรือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการทำงานร่วมกัน แต่มักจะละเลย “หางปลา” คือการจดบันทึกความรู้ปฏิบัติ สำหรับไว้ใช้งานและยกระดับความรู้ในสังคมไทยจึงควรกำหนดให้มี “คุณลิขิต” คอยทำหน้าที่นี้โดยตรง
หากเปรียบการจัดการความรู้เหมือนปลาตัวหนึ่ง ซึ่งมีส่วนประกอบ 3 ส่วน คือ ส่วนหัว กลางลำตัว และหาง รูปร่างของปลาแต่ละตัวหรือการจัดการความรู้ของแต่ละองค์กรจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับจุดเน้นขององค์กรนั้น ๆ เช่น บางองค์กรเน้นที่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งหมายถึง ส่วนกลางลำตัวปลาก็จะใหญ่กว่าส่วนอื่น ๆ ในขณะที่บางองค์กรอาจจะเน้นที่คลังความรู้และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง องค์กรนั้นจะมีส่วนหางปลาใหญ่กว่าส่วนอื่น ๆ โดยทุกส่วนนั้นมีความสำคัญ และ เชื่อมโยงถึงกันเพื่อให้การจัดการความรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพหากส่วนใดที่ทำแล้วบกพร่องหรือไม่ชัดเจนก็จะส่งผลกระทบต่อส่วนอื่นๆ ตามมาด้วย
อ้างอิงจาก https://kawisara2537.wordpress.com/2015/11/05/%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B9/
อ้างอิงจาก https://kawisara2537.wordpress.com/2015/11/05/%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B9/
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)